เมนู

ปริตตาภา ชั้นอัปปมาณาภา ชั้นอาภัสสรา ชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา
ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปผลา ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี
ต่อจากนั้น เทวดาชั้นอกนิษฐา ได้ยินเสียงก็เปล่งเสียงดัง เทวดามนุษย์และนาค
เป็นต้นทั้งหมด ในสถานที่ ๆโสตายตนะรับฟังได้ เว้นอสัญญีสัตว์และอรูปวจร-
สัตว์ มีใจตกอยู่ใต้อำนาจปีติ ก็พากันเปล่งเสียงดังก้องสูงลิบ. บทว่า อานนฺ-
ทิตา
ได้แก่ มีใจบันเทิงแล้ว อธิบายว่า เกิดปีติโสมนัสเอง. บทว่า วิปุลํ
ได้แก่ หนาแน่น.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ใน
ลำดับที่ทรงพระพุทธดำริแล้วนั่นเอง ทรงอธิษฐานว่า ขอแสงสว่างจงมีทั้ง
หมื่นจักรวาล. พร้อมกับอธิษฐานจิตนั้น แสงสว่างก็ปรากฏ ตั้งแต่แผ่นดินไป
จนจดอกนิษฐภพ. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
แผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า โลกันตริก-
นรกอันหนาก็ปิดไว้ไม่ได้ ความมืดทึบก็ถูกขจัดใน
ครั้งนั้น เพราะพบปาฏิหาริย์ อันน่ามหัศจรรย์.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสิตา แปลว่า สว่างแจ้งแล้ว. ใน
คำว่า ปฐวีนี้ ปฐวีนี้มี 4 อย่าง คือ กักขฬปฐวี สสัมภารปฐวี นิมิตตปฐวี
สมมุติปฐวี.
ใน

ปฐวี 4 อย่าง

นั้น ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ
ปฐวีธาตุภายในเป็นอย่างไร. ของหยาบ ของแข้น ภายใน จำเพาะตน อันใด
ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า กักขฬปฐวี.

ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า อนึ่งภิกษุใดขุดเองก็ดี ใช้ให้ขุด
ก็ดีซึ่งแผ่นดินดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี ปฐวีธาตุ 20 ส่วน มีเกศา ผมเป็น
ต้น และส่วนภายนอกมีเหล็ก โลหะเป็นต้นอันใด ปฐวีแม้นั้น เป็นปฐวีพร้อม
ด้วยส่วนประกอบมีวรรณะ สีเป็นต้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า สสัมภารปฐวี.
ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมจำได้ซึ่งปฐวี
กสิณดังนี้ ชื่อว่า นิมิตตปฐวี ท่านเรียกว่า อารัมมณปฐวี บ้าง.
ผู้ได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ บังเกิดในเทวโลกย่อมได้ชื่อว่าปฐวี-
เทพ โดยการบรรลุปฐวีกสิณฌาน สมจริง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า
อาโปเทพและปฐวีเทพ ดังนี้ นี้ชื่อว่า สมมติปฐวี. พึงทราบว่าชื่อว่า ปัญญัติ-
ปฐวี.
แต่ในที่นี้ประสงค์เอาสสัมภารปฐวี.
บทว่า สเทวกา แปลว่า พร้อมทั้งเทวโลก. ปาฐะว่า สเทวตา ก็มี
ถ้ามีก็ดีกว่า. ความก็ว่า มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกสว่างจ้าแล้ว. บทว่า ปุถู
แปลว่า มาก. คำว่า โลกนฺตริกา นี้เป็นชื่อของสัตว์นรกจำพวกอสุรกาย ก็
โลกันตริกนรกเหล่านั้น เป็นโลกันตริกนรก นรกหนึ่ง ระหว่างจักรวาลทั้ง
สาม. โลกันตริกนรก นรกหนึ่งๆ ก็เหมือนที่ว่างตรงกลางของล้อเกวียน 3
ล้อ ซึ่งตั้งจดกันและกัน ว่าโดยขนาด ก็แปดพันโยชน์. บทว่า อุสํวุตา
ได้แก่ ไม่ตั้งอยู่เบื้องต่ำ. บทว่า ตโม จ ได้แก่ ความมืด. บทว่า ติพฺโพ
ได้แก่ หนาทึบ. เป็นความมืดเป็นนิตย์ เพราะไม่มีแสงสว่างของดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์. บทว่า วิหโต ได้แก่ ถูกกำจัดแล้ว. บทว่า ตทา ความว่า
กาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแผ่
แสงสว่างเพื่อทรงทำปาฏิหาริย์ กาลนั้นความมืดทึบอันตั้งอยู่ในโลกันตริกนรก
ทั้งหลายก็ถูกกำจัดให้หายไป.

บทว่า อจฺเฉรกํ ได้แก่ ควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่าควรแก่การ
ปรบด้วยนิ้วมือโดยความประหลาดใจ. บทว่า ปาฏิหีรํ ได้แก่ ชื่อว่าปาฏิหีระ
เพราะนำปฏิปักษ์ไป. หรือ ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำไปเฉพาะซึ่งดวงจิตที่เข้า
ถึงทิฏฐิและมานะของสัตว์ทั้งหลาย. หรือว่า ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำมาเฉพาะ
ซึ่งความเลื่อมใสของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส. ปาฐะว่า ปาฏิเหระ ดังนี้ก็มี.
ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน คำนี้เป็นชื่อของคุณวิเศษแห่งวิธีการจัดแสงสว่างใน
ข้อนี้. พึงนำคำนี้ว่า เทวดา มนุษย์และแม้สัตว์ที่บังเกิดในโลกันตริกนรกทั้งหลาย
แลเห็นปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว ก็เข้าถึงปีติและโสมนัสอย่างยิ่ง
ดังนี้แล้ว ก็พึงเห็นความในคำนี้ว่า เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันมหัศจรรย์. นอกจาก
นี้จะเอาคำปลายมาไว้ต้นก็ไม่ถูก หรือจะเอาคำต้นมาไว้ปลาย ก็ไม่ถูก.
บัดนี้ เพื่อแสดงว่า มิใช่มีแสงสว่างในมนุษยโลกอย่างเดียวเท่านั้น
ในโลกกล่าวคือสังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก แม้ทั้งสาม ก็มีแสงสว่าง
ทั้งหมดเหมือนกัน ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ก็เกิดในโลกนี้โลกอื่น
และโลกทั้งสองพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และ
รากษสขยายไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องบนและเบื้องขวาง.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวา ได้แก่ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ
และวิสุทธิเทพ รวมเทพทั้งหมดท่านสงเคราะห์ไว้ในบทนี้. เทวดาด้วยคนธรรพ์
ด้วย มนุษย์ด้วย รากษสด้วย ชื่อว่าเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และรากษส.
เป็นไปกับด้วยเทพคนธรรพ์มนุษย์และรากษส ชื่อว่าพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์
มนุษย์และรากษส. นั้นคืออะไร. คือโลก ในโลกแห่งเทพ คนธรรพ์

มนุษย์และรากษสนั้น. บทว่า อาภา แปลว่า แสงสว่าง. อุฬาร ศัพท์นี้ใน
คำว่า อุฬารา นี้ ปรากฏในอรรถมีอร่อย ประเสริฐ และไพบูลย์เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น อุฬาร ศัพท์นี้ปรากฏในอรรถว่า อร่อย ในบาลีเป็นต้นว่า
อุฬารานิ ขาทนียโภชนียานิ ขาทนฺติ ภุญฺชนฺติ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเคี้ยว
ย่อมฉัน ของเคี้ยวของฉันอันอร่อย.
ปรากฏในอรรถว่า ประเสริฐ ในบาลีเป็นต้นว่า อุฬาราย โข ปน
ภวํ วจฺฉายโน ปสํสาย สมณํ โคตมํ ปสํสติ.
ก็ท่านวัจฉายนพราหมณ์
สรรเสริญพระสมณโคดม ด้วยการสรรเสริญอันประเสริฐแล.
ปรากฏในอรรถว่า ไพบูลย์ ในบาลีเป็นต้นว่า อติกฺกมฺม เทวานํ
เทวานุภาวํ อปฺปมาโณ อุฬาโร โอภาโส
แสงสว่างไพบูลย์ไม่มีประ-
มาณเกินเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. อุฬาร ศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าปรากฏ
ในอรรถว่า ประเสริฐ ในที่นี้.
บทว่า วิปุลา ได้แก่ ไม่มีประมาณ. บทว่า อชายถ ได้แก่ อุบัติ
แล้ว เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปแล้ว. บทว่า อิมสฺมึ โลเก ปรสฺมิญฺจ ความว่า
ในมนุษยโลกนี้ และในโลกอื่น คือเทวโลก. บทว่า อุภยสฺมึ ได้แก่ ใน
โลกทั้งสองนั้น. พึงเห็นเหมือนในโลกภายในและโลกภายนอกเป็นต้น. บทว่า
อโธ จ ได้แก่ ในนรกทั้งหลายมีอเวจีเป็นต้น. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ แม้ในกลาง
หาวนับแต่ภวัคคพรหม. บทว่า ติริยญฺจ ได้แก่ ในหมื่นจักรวาลโดยเบื้องขวาง.
บทว่า วิตฺถตํ ได้แก่ แผ่ซ่านไป. อธิบายว่า แสงสว่างกำจัดความมืด ครอบ
คลุมโลกและประเทศดังกล่าวแล้วเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ติริยญฺจ
วิตฺถตํ ได้แก่ แผ่ไปโดยเบื้องขวางคือใหญ่ อธิบายว่า แสงสว่างแผ่คลุม
ตลอดประเทศไม่มีประมาณ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่แสงสว่างไปในหมื่นจักรวาล
ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ทรงออกจากฌานนั้นแล้วทรงเหาะ
ขึ้นสู่อากาศ ด้วยอธิษฐานจิต ทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์

ท่ามกลางเทว-
บริษัทและมนุษยบริษัทอันใหญ่ เหมือนทรงโปรยธุลีพระบาทลงเหนือเศียร
ของพระประยูรญาติเหล่านั้น. ก็ยมกปาฏิหาริย์นั้น พึงทราบจากบาลีอย่างนี้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นอย่าง-
ไร. พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในโลกนี้ ไม่ทั่ว
ไปแก่พระสาวกทั้งหลาย คือลำไฟแลบออกจากพระกาย
เบื้องบน ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องล่าง, ลำไฟ
แลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อน้ำไหลออกจาก
พระกายเบื้องบน.
ลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องหน้า ท่อน้ำไหล
ออกจากพระกายเบื้องหลัง, ลำไฟแลบออกจากพระ-
กายเบื้องหลัง ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องหน้า.
ลำไฟแลบออกจากพระเนตรเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระเนตรเบื้องซ้าย ท่อนำไหลออกจากพระเนตร
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออกจาก
ช่องพระกรรณเบื้องขวา.